วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

ขนมจีนน้ำยา

                                                         ขนมจีนน้ำยา



             ขนมจีน เป็นอาหารคาวอย่างหนึ่งของไทย ประกอบด้วยเส้นเรียกว่า เส้นขนมจีน และน้ำยา หรือน้ำยาขนมจีน เป็นที่นิยมทุกท้องถิ่นของไทย แต่มีการปรุงน้ำยาแตกต่างกัน
แม้ว่า ขนมจีน จะมีคำว่า "ขนม" แต่ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับขนมใดๆ ขณะเดียวกัน แม้จะมีคำว่า "จีน" แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาหารของจีน ภาษาเหนือเรียก ขนมเส้น ภาษาอิสาน เรียก ข้าวปุ้น จะมีขนมจีนชนิดหนึ่งซึ่งใกล้เคียงกับขนม คือ ขนมจีนซาวน้ำ เพราะมีรสหวาน


                                              ประวัติ
            คำว่า "ขนมจีน" ไม่ใช่อาหารจีน แต่คำว่า "จีน" ที่ต่อท้ายขนมนี้สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากมอญซึ่งเรียกขนมจีนว่า "คนอมจิน" หมายถึง "สุก 2 ครั้ง" พิศาล บุญปลูก ชาวไทยเชื้อสายรามัญผู้สนใจศึกษาอาหารและวัฒนธรรมมอญกล่าวว่า " จริง ๆ แล้ว ขนมจีนเป็นอาหารของคนมอญหรือรามัญ คนมอญเรียกขนมจีนว่า คนอมจิน คนอม หมายความว่าจับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน จินแปลว่าทำให้สุก"[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ "คนอม" นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะใกล้เคียงกับคำไทย "เข้าหนม" แปลว่าข้าวที่นำมานวดให้เป็นแป้งเสียก่อน ซึ่งภายหลังกร่อนเป็น "ขนม" จริง ๆ แล้ว ขนม ในความหมายดั้งเดิมจึงมิใช่ของหวานอย่างที่เข้าใจในปัจจุบัน ขนม หรือ หนม ในภาษาเขมร หรือ คนอม ในภาษามอญหมายถึงอาหารที่ทำจากแป้ง ดังนั้นขนมจีน จึงน่าจะเพี้ยนมาจาก คนอมจิน ซึ่งทำให้เกิดสมมุติฐานตามมาอีกว่า ดั้งเดิมทีเดียวขนมจีนเป็นอาหารมอญ แล้วจึงแพร่หลายไปสู่ชนชาติอื่น ๆ ในสุวรรณภูมิตั้งแต่โบราณกาล จนเป็นอาหารที่ทำง่ายและมีความนิยมสูง สามารถหาทานได้ทั่วไป

                                            ขนมจีนของภาคใต้เรียกว่า 
            
            เรียกขนมจีนว่า โหน้มจีน โดยเป็นอาหารเช้าที่สำคัญของภาคใต้ฝั่งตะวันตก เช่น ระนอง พังงา ภูเก็ต กินกับผักเหนาะชนิดต่างๆ ทางภูเก็ตกินกับห่อหมก ปาท่องโก๋ ชาร้อน กาแฟร้อน ทางชุมพรนิยมกินขนมจีนเป็นอาหารเย็น กินกับทอดมันปลากราย ส่วนที่นครศรีธรรมราชกินเป็นอาหารเช้าคู่กับข้าวยำ น้ำยาทางภาคใต้ใส่ขมิ้นไม่ใส่กระชายเหมือนภาคกลาง ถ้ากินคู่กับแกงจะเป็นแกงไตปลา ขนมจีนเฉพาะถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ [1]
  • ภูเก็ต มีขนมจีนน้ำยาปู คล้ายน้ำยาปลาแต่ใช้เนื้อปูม้าแทนเนื้อปลา และยังกินขนมจีนกับน้ำชุบหยำหรือน้ำพริกที่ปรุงด้วยการขยำเครื่องปรุงเข้าด้วยกัน ไม่ได้โขลกให้เข้ากันในครก
  • พังงา กินกับแกงไตปลาที่รสเผ็ดน้อย ปรุงรสเปรี้ยวด้วยสับปะรดและส้มแขก
  • ชุมพร กินกับแกงไตปลาหรือแกงขี้ปลาที่ใส่ข่า กระชาย หอม กระเทียมที่ซอยละเอียด ไม่ได้นำไปโขลกกับน้ำพริกแกง มีสีเหลืองจากขมิ้นชัน
                        
                                      การรับประทาน

           เมื่อเรียงจับขนมจีนลงในจับแล้ว ผู้รับประทานจะราดน้ำยาลงไปบนเส้นขนมจีนให้ทั่ว น้ำยาขนมจีนนั้น มีลักษณะคล้ายน้ำแกง ไม่เหลวจนเกินไป ใช้ราดไปบนเส้นขนมจีนในจาน แต่ละท้องถิ่นจะมีน้ำยาแตกต่างกันไป เช่น น้ำยากะทิ น้ำยาป่า น้ำพริก แกงกะทิต่างๆ เช่น แกงเขียวหวาน น้ำเงี้ยว แกงไตปลา ซาวน้ำ สำหรับเด็กก็ยังมี น้ำยาหวานที่ไม่มีรสเผ็ดและมีส่วนผสมของถั่ว เป็นต้นใช้ช้อนตัดเส้นขนมจีนให้มีความยาวพอดีคำ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากับน้ำยา บางท่านนิยมรับประทานขนมจีนกับน้ำปลา นอกจากน้ำยาแล้ว ยังมีเครื่องเคียงเป็นผักสดและผักดอง ตามรสนิยมในแต่ละท้องถิ่น เครื่องเคียงประเภททอด เช่น ทอดมัน ดอกไม้ทอด หรืออื่นๆ ตามแต่ความชอบและความนิยมในแต่ละภาค


                           ผักที่รับประทานคู่กับขนมจีน
        
               ภาคกลาง เรียกผักที่กินคู่กับขนมจีนว่า "เหมือด" ได้แก่ หัวปลีซอย ถั่วฝักยาว แตงกวา ถั่วงอก            มะละกอดิบ ใบแมงลัก กะหล่ำปลี ผักกระเฉด ใบบัวบก ผักลวกมีมะระจีน ผักบุ้ง ผักชุบแป้งทอดกินกับขนมจีนน้ำพริกเท่านั้น ได้แก่ ใบผักบุ้ง ใบเล็บครุฑ ใบกะเพรา ดอกแค ดอกอัญชัน ดอกพวงชมพู ดอกเข็ม ผักดอง เช่น ผักกาดดอง เครื่องเคียงอื่นๆ เช่น พริกขี้หนูแห้งคั่ว ไข่ต้มยางมะตูม
           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผักสดได้แก่ ยอดจิก ยอดมะกอก ผักติ้ว ใบแต้ว ผักชีลาว ผักชีล้อม ผักแขยง ผักไผ่ ยอดชะอม ยอดกระถิน เม็ดกระถิน
           ภาคเหนือ กินกับผักกาดดองและถั่วงอกดิบ
           ภาคใต้ เรียกผักที่กินกับขนมจีนว่า "ผักเหนาะ" ผักสด ได้แก่ ยอดมันปู ยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดมะกอก ยอดทำมัง สะตอ ลูกเนียง เม็ดกระถิน ถั่วฝักยาว ถั่วงอก ถั่วพู มะเขือเปราะ ใบบัวบก ผักดอง เช่น แตงกวา หอม กระเทียม มะละกอดิบ ส้มมุด ถั่วงอก ขนุนอ่อน หัวไชโป๊วหวาน หน่อไม้รวก ผักต้มกะทิ เช่น สายบัว ผักบุ้ง หัวปลี ขนุนอ่อน


            
           ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ขนมเม็ดขนุน

                                                       



                                                                     ขนมเม็ดขนุน


                  ส่วนผสม

                  1. ถั่วเขียวเลาะเปลือก 450 กรัม
                  2. น้ำตาลทราย 200 กรัม (สำหรับผสมถั่ว)
                  3. น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำเชื่อม)
                  4. น้ำกะทิ 400 กรัม
                  5. น้ำเปล่า 3 ถ้วยตวง (สำหรับทำน้ำเชื่อม)
                  6.ไข่เป็ด 5 ฟอง (ใช้เฉพาะไข่แดง)

                   
                  วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน
1. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกมาทำความสะอาด และแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำไปนึ่งให้สุก ใช้เวลาประมาณ 15 นาที)
2. เมื่อถั่วเขียวสุกดีแล้ว ให้นำไปใส่ในเครื่องปั่นไฟฟ้า พร้อมกับน้ำตาลทรายและน้ำกะทิ ปั่นจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี
3. จากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเคลือบเทฟลอนก็ได้)และตั้งบนไฟอ่อนๆ ค่อยๆกวนจนข้นและเหนียว (ใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที) จึงปิดไฟ และทิ้งไว้ให้เย็น (ถั่วต้องแห้ง มิเช่นนั้นจะไม่สามารถนำไปปั้นได้)
4. ก่อนปั้นให้นวดส่วนผสมทั้งหมดอีกครั้งจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นจึงปั้นให้เป็นรูปทรงเม็ดขนุน
5. ทำน้ำเชื่อมโดยผสมน้ำตาลและน้ำเปล่า นำไปเคี่ยวในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเคลือบเทฟลอนก็ได้) จนเหนียวข้นเป็นยางมะตูม จึงปิดไฟ
6. ตอกไข่และเลือกเอาเฉพาะไข่แดงมารวมกัน เขี่ยพอให้ไข่แดงแตก จากนั้นจึงนำเม็ดขนุนที่ปั้นเตรียมไว้ใส่ลงไปแช่ในไข่แดงทีละเม็ด แล้วจึงนำไปใส่ในน้ำเชื่อม พยายามอย่าให้ติดกัน พอใส่ลงไปมากแล้วจึงนำกระทะไปตั้งบนไฟอ่อนๆจนสุกทั่งจึงตักออกมาพัก ทำซ้ำเช่นนี้จนเม็ดขนุนที่ปั้นไว้หมด
7. จัดเม็ดขนุนใส่จาน เสริฟทานเป็นของว่างในวันสบายๆ




ที่มา:http://www.google.co.th/search?


10อันดับผลไม้ที่กินแล้วไม่อ้วน

                        ผลไม้
                                 10อันดับผลไม้กินแล้วไม่อ้วนผลไม้
                1. กีวี - มีสารแอกทินิดีน ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทำให้หัวใจแข็งแรง



                
                   2. มะเขือเทศ - ช่วยลดความเสียงจากมะเร็งและโรคหัวใจ




               3.  มะละกอ – ช่วยย่อยอาหารและโปรตีน






                4.  อะโวกาโด –  ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งชนิดต่างๆ ได้ถึง 30 ชนิด 




                 5.สับปะรด- ช่วยต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย






                   6.ผลไม้จำพวกเบอร์รี่ – เช่น สตอเบอร์รี่ แบลคเบอร์รี่ ผลไม้กลุ่มนี้ดีต่อระบบไหลเวียนโลหิต

                                                                                  



                  7. แครนเบอร์รี่ – ช่วยป้องกันนิ่วในไต ต้านเชื้อไวรัส



                 8. ผลไม้ตระกูลส้ม – ช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเส้นเลือด


                9. ผลไม้กลุ่มแตง – มีสรรพคุณสูงสุดในการล้างพิษให้กับร่างกาย



                                                       
         


                  10. แอปเปิ้ล – ช่วยทำความสะอาดระบบย่อยอาหาร



            

ที่มา:http://www.google.co.th/search?hl=th&source=hp&q=%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%99&aq=f&aqi=&aql=&oq=


อยากบอกแม่ว่า

          อยากบอกแม่ว่า..................................
      ขอบคุณแม่ค่ะที่ตลอดเวลา 15-16 ปีนี้แม่ดูแลหนูมาตลอด ตลอดระยะเวลาทั้งชีวิตของหนูที่มีแม่คอยอบรมสั่งสอน คอยให้คำปรึกษา ดูแลเอาใจใส่ ทำทุกอย่าง หาทุกอย่างที่หนูอยากได้มาให้

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

น้ำตกเอราวัณ

น้ำตกเอราวัณเป็นน้ำตกที่ใหญ่และสวยงาม บนฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นน้ำตกที่มีระยะทางยาวประมาณ 1,500 เมตร ติดต่อกัน ซึ่งแบ่งออกเป็นชั้นๆ ได้ 7 ชั้นเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เดิม มีชื่อว่า น้ำตกสะด่องม่องลาย ตามชื่อลำห้วยม่องล่ายซึ่งเป็นต้นน้ำของน้ำตกที่เกิดจากยอดเขา ตาม่องล่ายใน เทือกเขาสลอบ สายน้ำจะไหลมาตามชั้นหินเป็นระยะทางประมาณ 1,500 เมตร แบ่งออกเป็นชั้นใหญ่ๆได้ 7 ชั้น แต่ละชั้นมีีความสวยงามร่มรื่นไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ทั้งเถาวัลย์พันเกี่ยวทอดตัวไปบนต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้ป่า หลายชนิดบนคาคาคบไม้ สายธารน้ำที่ไหลตกลดหลั่นลงมาบนโขดหินสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง เสียงสาดซ่า คลอเคล้า ด้วยเสียงเพรียกของนกป่า ทำให้สภาพความเป็นธรรมชาติสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น นับเป็นบรรยากาศที่เรียกเอาความมี คุณค่าของป่าเขาลำเนา ไพรซึมซับเข้าสู่อารมณ์ของผู้ใฝ่ความสันโดษ และรักธรรมชาติโดยแท้จริง ในชั้นที่ 7 อันเป็นชั้นบนสุดของน้ำตกลักษณะของน้ำตกชั้นที่ 7 ลักษณะสายน้ำไหลบ่า มองดูคล้ายกับหัวช้างเอราวัณซึ่งมี 3 หัว จึงกลายมาเป็นที่มาของชื่อน้ำตก จนคนทั่วไปรู้จักและขนานนามว่า “น้ำตกเอราวัณ”